เนื่องจากความเป็นสากลที่เพิ่มขึ้นและความสำคัญของตลาดในเอเชียที่กำลังเติบโต ส่งผลให้ภาษาท้องถิ่นในภูมิภาคเหล่านี้กำลังดึงดูดความสนใจจากแบรนด์ต่างๆ แต่คำถามคือ.. พวกเขาจะเริ่มดำเนินการบนตลาดเมืองไทยได้อย่างไรล่ะ? และฟอนต์อักษรแบบไหนที่พวกเขาควรเลือกสำหรับการสร้างแบรนด์ในภาษาไทย?
หรือหากว่าคุณต้องการเปิดตัวธุรกิจในประเทศไทย คุณจะเลือกฟอนต์อักษรแบบไหนที่ใช่สำหรับแบรนด์ของคุณ มันอาจดูเหมือนเป็นแค่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคุณ แต่อย่างไรก็ดี การเลือกประเภทของฟอนต์อักษรของแบรนด์ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์โดยทั่วไป อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลประกอบการของคุณได้นะ
ดังนั้นคุณจะดำเนินการอย่างไรดีล่ะ?
อย่างแรกเลย คุณต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของภาษาพูด ภาษาเขียน และวัฒนธรรมของประเทศไทย อย่างที่สอง คือคุณต้องมีพื้นฐานการสร้างแบรนด์ของคุณ นั้นคุณก็จะสามารถเลือกฟอนต์อักษรไทยที่เหมาะสมสำหรับการสร้างแบรนด์ ซึ่งในส่วนฟังก์ชั่นของฟอนต์อักษรภาษาไทยที่คุณจะเลือกนั้น มันมักจะมีลักษณะเฉพาะและความหมายที่แตกต่างกันสำหรับข้อความที่คุณอยากจะแชร์
1. คุณสมบัติพิเศษของภาษาไทยและระบบการพิมพ์ไทย
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีคนพูดกว่า 60 ล้านคน ทั้งในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่นเดียวกันกับภาษาอื่น ภาษาไทยมีหลายภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ส่วนไหนของประเทศไทย
ยกตัวอย่างเช่น การพูดภาษาไทยแบบ “ภาษามาตรฐาน” จะถูกพูดในภาคกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ หรือภาษาถิ่นแบบอีสาน (ภาษาไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่มีความคล้ายคลึงกับภาษาลาวเป็นอย่างมาก
เป็นที่รู้กันว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ทั้งๆ ที่คอนเซ็ปท์บางอย่างทำให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่นความจริงที่ว่าคำกริยาไทยเป็นคำกริยาคงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึงคำกริยานั้นไม่ได้มีลักษณะชั่วคราวและไม่มีการผันคำกริยานั่นเอง
แต่ในบางคอนเซ็ปท์ก็ทำให้มันดูยากขึ้น เช่นคำราชาศัพท์ 5 ระดับ (เป็นระเบียบการใช้ภาษาไทยให้สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็น 5 ชั้น ได้แก่ 1.พระราชา 2.เจ้านายหรือพระราชวงศ์ 3.พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ 4.ข้าราชการ 5.สุภาพชนทั่วไป) และ 5 โทนเสียงที่แตกต่างกัน
และหากพูดถึงภาษาเขียน มีผู้เรียนภาษาไทยจำนวนมากพบว่ามันค่อนข้างท้าทายเนื่องจากมีจำนวนพยัญชนะมาก ประกอบกับสระประสมที่เป็นสระเสียงเลื่อน
ซึ่งแตกต่างจากระบบการพิมพ์ของภาษาตะวันตกทั้งหมด กล่าวคือฟอนต์อักษรไทยไม่ได้เป็นตัวอักษรล้วนๆ หรือทางภาษาศาสตร์เรียกว่าอักษรประเภท Abugida (อะบูกีดา) คือเป็นการใช้อักษรแทนหน่วยเสียงที่แยกสระ แยกพยัญชนะ แล้วนำมาประสมกัน ซึ่งสระจะถูกวางอยู่ระหว่างพยางค์และตัวพยัญชนะผสมกันไป
โดยหนึ่งพยางค์ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะประกอบไปด้วยเศษเล็กเศษน้อยของสระและพยัญชนะไทย เช่นเดียวกับอักษรเทวนาครีที่เป็นภาษาหนึ่งในภาษาอินเดีย
ภาษาไทยเขียนจากซ้ายไปขวาและมีตัวอักษรทั้งหมด 44 ตัวสำหรับพยัญชนะ โดยแต่ละพยัญชนะสามารถวางพร้อมกับสระทั้ง 3 ประเภท ทั้งตำแหน่งด้านบนหรือด้านล่าง และทั้งด้านซ้ายหรือด้านขวาของพยัญชนะ ซึ่งอันที่จริงแล้วมันไม่มีความแตกต่างใดๆ ระหว่างตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ในการเขียนภาษาไทย
ตรงกันข้ามกับภาษาอังกฤษที่ช่องว่างระหว่างคำมักไม่ค่อยพบในภาษาไทย แม้คำที่แตกต่างกันก็มักจะถูกเขียนติดๆ กันอย่างต่อเนื่องและมีการใช้ช่องว่างเพื่อแยกประโยค
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น นี่คือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อคุณให้มองเห็นภาพ:
ฟอนต์ภาษาไทย
2. ฟอนต์ภาษาไทย
คุณสมบัติทั่วไปของฟอนต์อักษรไทยคือการลงท้ายด้วยเส้นที่มีลักษณะกลมขนาดเล็กซึ่งมาจากภาษาเขียนแบบดั้งเดิมอันมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความสามารถในการอ่าน
อนุทิน วงศ์สรรคกร นักออกแบบฟอนต์ผู้นำเอาจุดสิ้นสุดวงกลมในตัวอักษรไทยกับฟอนต์แบบ serif ที่มีเชิงของฟ้อนต์มาเปรียบเทียบกัน (เชิงของฟอนต์จะมีลักษณะเป็นเส้นขีดที่อยู่บริเวณเส้นขวางด้านล่างของตัวอักษรละติน)
เขาได้ใช้ความคล้ายคลึงกันนี้ในการสร้างฟอนต์พิเศษที่สามารถแสดงได้ทั้งตัวอักษรไทยและละตินโดยไม่สูญเสียเอกภาพของตัวอักษรและทำให้อ่านง่าย จนออกมาเป็นฟอนต์ Helvetica ที่มีความลงตัวระหว่างตัวอักษรละตินแบบดั้งเดิมและตัวอักษรไทยสมัยใหม่ด้วยการออกแบบตัวอักษรที่ดูสุขุมและปราศจากการประดิษฐ์ประดอย
ฟอนต์ Helvetica ในภาษาไทย :
คุณสามารถดาวน์โหลดฟอนต์นี้ได้ในส่วนของ Ressources ท้ายสุดของบทความนี้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ได้มีฟอนต์อักษรที่ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ ในแบบที่ไม่มีส่วนจบที่เป็นวงกลมและนิสัยการอ่านของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไป
ความคุ้นเคยและการยอมรับในฟอนต์ San serif รูปแบบใหม่นี้เพิ่งผ่านมาเพียงไม่กี่ทศวรรษ
การประกาศยกเลิกการตกแต่งส่วนจบของอักษรไทยแบบดั้งเดิม (จบแบบกลม) เปิดโอกาสให้เกิดการพิมพ์แนวนอนแบบใหม่และทำให้ตัวอักษรภาษาไทยมีความสอดคล้องกับฟอนต์ Latin sans serif นั่นหมายถึงการไม่มีส่วนจบที่เป็นวงกลมขนาดเล็กอีกต่อไป
บริษัทข้ามชาติอย่าง Apple ก็ได้ใช้ประโยชน์จากฟอนต์ที่ทันสมัยชนิดนี้ พวกเขามักใช้ฟอนต์พิเศษที่พัฒนาขึ้นเองแล้วดัดแปลงเป็นภาษาไทยและในทุกๆ ภาษา
ในเว็บไซต์ของ Apple มีการใช้ฟอนต์อักษรที่เหมือนกันทั้งสองภาษา นั่นคือฟอนต์ “SF pro text”
“เทคนิค” นี้ช่วยให้พวกเขามีอัตลักษณ์ของการเป็นแบรนด์นานาชาติ ดังนั้น มันจึงง่ายต่อการทำโลคัลไลซ์เซชั่น (การสร้างแบรนด์รองรับหลายภาษา) ในแต่ละประเทศ
แต่สิ่งที่ว่าการแปลแบรนด์?
3. กลยุทธ์การโลคัลไลซ์เซชั่นแบรนด์ (การสร้างแบรนด์รองรับหลายภาษา)
1) คำนิยาม
การโลคัลไลซ์เซชั่นแบรนด์เป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างแบรนด์ เพื่อปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของแบรนด์ในฟังก์ชั่นการทำงานของตลาดกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการนี้จะทำร่วมกับการทรานส์ครีเอชั่น ซึ่งรวมไปถึงฟอนต์อักษรของโลโก้หรือบนเว็บไซต์ของคุณและการแปลเนื้อหาต่างๆ
โดยมีจุดมุ่งหมายคือการปรับข้อความให้เข้ากับวัฒนธรรมและภาษาหนึ่งๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ก่อนที่จะตัดสินใจว่าฟอนต์ภาษาไทยแบบไหนที่คุณต้องการสำหรับแบรนด์ของคุณนั้น คุณควรกำหนดแนวทางของแบรนด์ก่อน นั่นหมายถึงการมีไอเดียที่ชัดเจนเกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ แบรนด์โพสิชั่นในตลาด ชื่อของคุณ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
เมื่อคุณมีพื้นฐานการสร้างแบรนด์ คุณจะสามารถเริ่มงานจากอัตลักษณ์ของแบรนด์ซึ่งประกอบไปด้วยโลโก้ สี และฟอนต์อักษรโดยที่องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้จะเป็นแนวทางในการสร้างแบรนด์ไกด์ไลน์ของคุณในลำดับถัดไป
ส่วนประกอบทั้งสามนี้จะเป็นแนวทางแบรนด์ของคุณ
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนำเสนอผลิตภัณฑ์ออนไลน์ให้กับวัยหนุ่มสาว ฟอนต์ที่ดูทันสมัยและสามารถแสดงผลได้บนหลากหลายแพลตฟอร์มอย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนย่อมเป็นตัวเลือกที่ดี
คุณอาจจะก้าวไปต่อโดยใช้ฟอนต์ที่สามารถให้บริการธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างพวกบริษัทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังให้บริการอยู่ บริษัทเหล่านี้มักคิดที่จะทำให้ตัวอักษรบางลงเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ “hack” หรือทริคที่ว่านี้ทำให้พวกเขาแสดงตัวอักษรในพื้นที่แบบเดียวกันได้มากกว่าตัวอักษรปกติ
ดังนั้นมันจึงช่วยลดการใช้หมึกและกระดาษได้อย่างประหยัดเมื่อพูดถึงการพิมพ์วัสดุต่างๆ อย่างเช่นพวกบรรจุภัณฑ์หรือโบรชัวร์ สำนวนที่ว่า “The cherry on the cake = สิ่งสุดท้ายที่จะทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ” นั่นเพราะมันช่วยลดค่าใช้จ่ายของพวกเขาในขณะเดียวกันมันยังช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์โดยการทำให้เป็นตัวอย่างอีกด้วย
จากนั้นคุณต้องเลือกกลยุทธ์ของคุณ
B) กลยุทธ์
อย่างแรกเลย มันขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่คุณต้องการทำในกระบวนการโลคัลไลซ์เซชั่นแบรนด์เพื่อรองรับหลายภาษาคืออะไร
คุณสามารถเลือกแสดงฟอนต์ได้ทั้งในแบบอักษรไทยและอักษรภาษาอังกฤษอย่างบนเว็บไซต์ของ Apple ซึ่งนั่นช่วยให้คุณมีภาพของความเป็นแบรนด์นานาชาติ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่มันอาจส่งผลต่อตลาดในประเทศของคุณได้น้อยลง
หรือคุณสามารถใช้ฟอนต์ภาษาไทยเพื่อทำให้กระบวนการโลคัลไลซ์เซชั่นแบรนด์ออกมาดียิ่งขึ้น และส่งผลให้คุณสามารถสื่อข้อความที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่แน่นอนว่านั่นหมายถึงคุณต้องเพิ่มการทำงานที่มากขึ้นตามไปด้วย
ในส่วนของการตั้งค่าอื่นๆ ที่คุณควรคำนึงถึง เช่นสถานะออนไลน์ของบริษัท กลยุทธ์การทำโฆษณา และความต้องการในสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
4. ควรเลือกใช้ฟอนต์ไทยแบบไหนดี
ก็เหมือนกับในการเขียนภาษาอื่น ฟอนต์อักษรภาษาไทยมีเวอร์ชั่นที่เป็นตัวเลขซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้:
– ฟอนต์ไทยแบบ Thai Serif จะเป็นแบบที่มีการตกแต่งลายเส้น “ในส่วนฐาน” ของตัวอักษร และโดยทั่วไปคุณจะพบ “วงกลม” เล็กๆ ตามลักษณะของตัวอักษรไทยดั้งเดิม
– จะเป็นแบบอักษรที่ไม่มีการตกแต่งลายเส้น อาจมีส่วนที่เป็นวงกลมแบบไทยๆ บ้าง แต่ก็หาได้ค่อนข้างยาก
– ที่เป็นศิลปะระดับสูง มักจะถูกใช้ในการสร้างแบรนด์และการทำการตลาดเนื่องจากเป็นสไตล์ที่เขียนขึ้นมาด้วยลายมือของพวกเขาเอง
ดังรูปภาพตัวอย่างที่จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น:
อย่างไรก็ตาม ลายเส้นที่มีการตกแต่งนั้นช่วยให้ดูมีความประณีตและอ่อนโยนได้มาก
พวกเขาจะยิ่งลึกซึ้งยิ่งขึ้นในแบบอักษรไทย:
และนี่คือตัวอย่างของฟอนต์แบบอักษรต่างๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น:
แต่ละตัวอักษรจําเพาะเป็นไปได้อธิบายในฝ่ายต่อไปนี้.
1) ฟอนต์ไทยแบบ Thai Serif
เป็นฟอนต์ที่มักถูกนำไปใช้ในเอกสารที่เป็นทางการเพราะมันสามารถอ่านได้ง่าย และยิ่งกว่านั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดการสับสนกับตัวอักษรอื่นๆ
เป็นฟอนต์ที่มักถูกนำไปใช้ในเอกสารที่เป็นทางการเพราะมันสามารถอ่านได้ง่าย และยิ่งกว่านั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดการสับสนกับตัวอักษรอื่นๆ
ที่ถูกออกแบบโดย ศุภกิจ เฉลิมลาภ ซึ่งฟอนต์นี้ได้รับเลือกจากรัฐบาลให้เป็นฟอนต์อักษรตัวพิมพ์อย่างเป็นทางการสำหรับหนังสืออ้างอิงและเอกสารราชการ เนื่องจากฟอนต์ Sarabun เป็นฟอนต์ที่เหมาะกับข้อความที่ยาวและมีความเป็นทางการสูง
ฟอนต์อักษรตัวพิมพ์ที่รู้จักกันดีที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมันแสดงถึงดีไซน์แบบไทยๆ ที่เป็นกลาง จึงมีความเหมาะสมกับการใช้งานในทุกโอกาส
อีกตัวอย่างหนึ่ง: ฟอนต์ Helvetica Neue เป็นฟอนต์ที่ถูกนำมาใช้งานบนเว็บไซต์ของรัฐบาลไทย
นอกจากนี้ ฟอนต์ Thai Serif มักเป็นตัวเลือกที่ถูกนำมาใช้ในงานพิมพ์อย่างแพร่หลายเช่นกัน ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในโลกที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น แต่งานพิมพ์ยังคงมีความเกี่ยวข้องและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอีกธุรกิจจำนวนมาก
นอกจากนี้ ฟอนต์ Thai Serif มักเป็นตัวเลือกที่ถูกนำมาใช้ในงานพิมพ์อย่างแพร่หลายเช่นกัน ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในโลกที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น แต่งานพิมพ์ยังคงมีความเกี่ยวข้องและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอีกธุรกิจจำนวนมาก
ด้วยเหตุนี้ หากคุณมีธุรกิจที่ต้องการงานพิมพ์ อย่างเช่นโรงแรม Niyama ที่ต้องมีการใช้โบรชัวร์และสเตชันเนอรี่ต่างๆ เราขอแนะนำว่าคุณควรพิจารณาฟอนต์อักษรแบบ Thai Serif
B. ฟอนต์ไทยแบบ Sans Serif
ในทางกลับกัน ฟอนต์ Sans Serif นั้นมีความหรูหรา เคร่งขรึม และทันสมัยมากกว่า ดังนั้นจึงเป็นฟอนต์ที่น่าสนใจเมื่อกล่าวถึงการสื่อสารออนไลน์ เพราะฟอนต์ชนิดนี้สามารถปรับให้เข้ากับหลายแพลตฟอร์มได้ง่าย
ในทางกลับกัน ฟอนต์ Sans Serif นั้นมีความหรูหรา เคร่งขรึม และทันสมัยมากกว่า ดังนั้นจึงเป็นฟอนต์ที่น่าสนใจเมื่อกล่าวถึงการสื่อสารออนไลน์ เพราะฟอนต์ชนิดนี้สามารถปรับให้เข้ากับหลายแพลตฟอร์มได้ง่าย
มันเป็นฟอนต์ที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบโลโก้อยู่บ่อยครั้ง
ฟอนต์ไทยแบบ Kanit ที่ถูกออกแบบโดยบริษัท Cadson Demak นั้นเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมและเป็นฟอนต์ไทยที่เป็นที่นิยม อย่างไรก็ดี บริษัทของเราก็ใช้ฟอนต์นี้สำหรับเว็บไซต์เวอร์ชั่นภาษาไทยของเราเช่นกัน:
ฟอนต์ไทยแบบ Athiti และ Mitr เป็นฟอนต์ Thai Serif ที่น่าสนใจสำหรับเว็บไซต์ของคุณ และคุณยังสามารถใช้ฟอนต์เหล่านี้ในการออกแบบ PowerPoint หรือ E-book ขอบคุณได้อีกด้วย
3) ฟอนต์ศิลปะแบบ artistic font
นอกเหนือจากฟอนต์อักษรที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ คุณยังสามารถเลือกฟอนต์ครีเอทีฟจากสไตล์ที่เขียนด้วยลายมือได้ ฟอนต์อักษรชนิดนี้มักใช้กับหัวจดหมายหรือปกของโบรชัวร์ เพราะมันให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ไม่เป็นทางการ และให้ความรู้สึกที่น่าประทับใจแบบไดนามิก อย่างไรก็ตามมันอาจจะไม่เหมาะสำหรับข้อความที่ยาวมากนัก
ฟอนต์ไทย Chonburi เป็นหนึ่งในฟอนต์สไตล์นี้ ซึ่งเป็นดูเป็นศิลปะ มีประสิทธิภาพ และอ่านได้ง่าย:
เราเลือกใช้ฟอนต์อักษรแบบ artistic font ที่เป็นศิลปะสำหรับแบรนด์ Yummix เพราะแบรนด์นี้ขายสินค้าจำพวกขนมหวานสำหรับเด็ก
ดังนั้นเราจึงต้องการฟอนต์ที่ดูเหมือนว่ามันถูกเขียนโดยเด็กๆ อย่างที่คุณเห็น รูปแบบตัวพิมพ์นั้นจะไม่สมมาตรและมีความโค้งงอ นอกจากนี้ ตัวอักษรยังมีหลากหลายสีสันและมีขนาดกว้างเพื่อให้เน้นว่าดูเป็นเหมือนลายมือของเด็กๆ
5. Font Family: รูปแบบของแบบอักษรเดียวกัน
เมื่อคุณเลือกแบบอักษรของคุณแล้วอย่าลืมว่าคุณจะสามารถเข้าถึงรูปแบบอักษรทั้งหมดของตระกูลฟอนต์ได้ ตระกูลแบบอักษรจะรวบรวมรูปแบบทั้งหมดของแบบอักษรเดียวกัน
อันที่จริงถ้าคุณยกตัวอย่างแบบอักษร kanit ก็มีเช่น kanit extralight, kanit light, kanit regular, kanit medium, kanit semibold, the kanit bold, kanit extrabold etc ...
ตัวเลือกนั้นกว้างและคุณจะมีให้สำหรับแบบอักษรยอดนิยมทั้งหมด ขึ้นอยู่กับคุณ
ขอแนะนำให้คุณใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสอดคล้องและสอดคล้องกัน
สรุปได้ว่าเราได้เลือกแหล่งข้อมูลบางอย่างเพื่อช่วยคุณในการค้นหาแบบอักษรของแบรนด์ที่ตรงกับเอกลักษณ์ของแบรนด์ของคุณ หรือคุณอาจจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ที่สามารถสร้างแบรนด์ของคุณได้ดังนั้นเพื่อเลือกแบบอักษรที่ดีที่สุดเพื่อให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ
แหล่งข้อมูล
ก่อนใช้ฟอนต์โปรดจำไว้ว่าคุณต้องตรวจสอบลิขสิทธิ์ฟอนต์ก่อน คุณสามารถดาวน์โหลดฟอนต์ภาษาไทยได้หลายร้อยแบบ
เราขอเสนอรายชื่อตระกูลฟอนต์ภาษาไทยสวย ๆ ให้ดาวน์โหลดฟรีที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ของคุณ:
- ดาวน์โหลดฟรีตัวอักษรซาราบุน: https://fonts.google.com/specimen/Sarabun
- ดาวน์โหลดตัวอักษร Kanit ฟรี: https://fonts.google.com/specimen/Kanit?subset=thai
- ดาวน์โหลดฟรีตัวอักษร Athiti: https://fonts.google.com/specimen/Athiti
- ดาวน์โหลดตัวอักษรฟรีมิตร: https://fonts.google.com/specimen/Mitr
- ดาวน์โหลดแบบอักษรชลบุรีฟรี: https://fonts.google.com/specimen/Chonburi?subset=thai
- แบบอักษรฟรีเพิ่มเติมบนแบบอักษร Google: https://fonts.google.com/?subset=thai
ตัวอักษรไทยเจ้าหนี้ดาวน์โหลด :
- ดาวน์โหลดตัวอักษร Helvetica: https://www.fonts.com/font/linotype/helvetica-thai/complete-family-pack